วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการเรียนการสอน
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
อ้างอิงจาก http://school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm
ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษากับเทคโนโลยีการสอน
ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า"เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"
คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ
ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน"
ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
จากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
อ้างอิงจาก http://student.nu.ac.th/fon/tecnomean.htm
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
คำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษา ค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษาจึง หมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดง่ายและรวดเร็วขึ้น
คำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์และสิ่งประดิษฐ์มาประยุกต์ โดยมีกระบวนการกระทำ หรือ การจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยี แทน โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ( Information and Communication Technology ) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงมักเรียกว่า การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษา หรือที่เรียกย่อว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา แทนที่จะใช้คำว่า “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้ ในบทเรียนนี้จึงใช้คำว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา แทน โดยให้หมายถึง นวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี และ การสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน
ความหมายของระบบสารสนเทศ
อ้างอิงจาก http://nilnate.blogspot.com/2009/02/blog-post_15.html
ความหมายของการศึกษา
ในทางตะวันตก education มีรากศัพท์มาจากคำกริยาลาติน ๒ คำ คือ educare กับ educere
Educare (เอดูชาเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาไม่มีศักยภาพในตนพ่อแม่ หรือครูจึงเป็นผู้กำหนด อบรมสั่งสอน ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ครูสั่ง ผู้เรียนทำ (จิตนิยม)
Educere (เอดูเชเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีศักยภาพในตน จึงต้องพยายามให้บุคคลแสดงศักยภาพออกมา ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูชี้ทาง นักเรียนแสวงหา ประการนี้ดูเหมือนว่าสอดคล้องกับคำว่า “ศึกษา” (ปฏิบัตินิยม)
ถ้าการศึกษาคือการพัฒนาตน ตนจะพัฒนาอะไร
พัฒนากายให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ศีล ตะวันตก คือ phychomotor domain
พัฒนาจิตให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ สมาธิ ตะวันตก คือ affective domain
พัฒนาความรู้ให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ปัญญา ตะวันตก คือ cognitive domain
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าคนไทยมีการศึกษามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องหาตังบ่งชี้ด้วยการถามว่า
สุขภาพของคนไทยมีคุณภาพหรือไม่ ระดับใด วัดจากอะไร เช่น จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ไม่มีสารพิษซึมซาบอยู่ในกาย ความสามารถในการใช้อวัยวะกระทำและสื่อสารในการดำรงชีวิต
จริยธรรม สติ ความแน่วแน่ และต่อเนื่อง ของคนไทยมีมากน้อยเพียงใด อาจวัดได้จากความคิดที่มีจุดหมายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม แน่วแน่ในการกระทำความดี และมีความต่อเนื่อง
วิธีคิดเพื่อแสวงหาคำตอบในการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่นอย่างไร อาจวัดจาก การคิดอย่างมีจุดหมาย ลำดับขั้นตอนของการคิด คิดอย่างมีเหตุผล (และเข้าใจเหตุผลกำมะลอ) คิดให้เกิดประโยชน์
Educare (เอดูชาเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาไม่มีศักยภาพในตนพ่อแม่ หรือครูจึงเป็นผู้กำหนด อบรมสั่งสอน ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ครูสั่ง ผู้เรียนทำ (จิตนิยม)
Educere (เอดูเชเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีศักยภาพในตน จึงต้องพยายามให้บุคคลแสดงศักยภาพออกมา ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูชี้ทาง นักเรียนแสวงหา ประการนี้ดูเหมือนว่าสอดคล้องกับคำว่า “ศึกษา” (ปฏิบัตินิยม)
ถ้าการศึกษาคือการพัฒนาตน ตนจะพัฒนาอะไร
พัฒนากายให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ศีล ตะวันตก คือ phychomotor domain
พัฒนาจิตให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ สมาธิ ตะวันตก คือ affective domain
พัฒนาความรู้ให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ปัญญา ตะวันตก คือ cognitive domain
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าคนไทยมีการศึกษามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องหาตังบ่งชี้ด้วยการถามว่า
สุขภาพของคนไทยมีคุณภาพหรือไม่ ระดับใด วัดจากอะไร เช่น จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ไม่มีสารพิษซึมซาบอยู่ในกาย ความสามารถในการใช้อวัยวะกระทำและสื่อสารในการดำรงชีวิต
จริยธรรม สติ ความแน่วแน่ และต่อเนื่อง ของคนไทยมีมากน้อยเพียงใด อาจวัดได้จากความคิดที่มีจุดหมายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม แน่วแน่ในการกระทำความดี และมีความต่อเนื่อง
วิธีคิดเพื่อแสวงหาคำตอบในการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่นอย่างไร อาจวัดจาก การคิดอย่างมีจุดหมาย ลำดับขั้นตอนของการคิด คิดอย่างมีเหตุผล (และเข้าใจเหตุผลกำมะลอ) คิดให้เกิดประโยชน์
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
อ้างอิงจาก http://pirun.ku.ac.th/~b5013098/page1.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)